องค์การอนามัยโลก  เผยว่าประชากรโลกมากกว่า 300 ล้านคน หรือร้อยละ 4 เป็น โรคซึมเศร้า และ เสี่ยงที่จะฆ่าตัวตายสูง ถึงร้อยละ 20.4 อีกด้วย โดยเมื่อวัยที่ 5 เมษายน ที่ผ่านมานั้น ปลัดกระทรวงสาธารณะสุข (นพ.โสภณ เมฆธน) และ ผู้แทนองค์กรอนามัยโลกประจำประเทศไทย (นพ.แดเนียล เคอร์เทสซ์ ) รวมไปถึง อธิบดีกรมสุขภาพจิต ( น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ ) ได้มีการร่วมแถลงเนื่องใน วันอนามัยโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 7 เมษายนของทุกปี และในปีนี้องค์การอนามัยโลกได้กำหนดหัวข้อการรณรงค์ว่า “Depression, Let’s talk: ซึมเศร้า…เราคุย กันได้”

มีการแถลงว่า โรคซึมเศร้า   นั้นถือเป็นภัยเงียบที่คุกคามสุขภาพของ ประชาชน แต่ว่าสามารถป้องกันได้ ทั้งนี้ผู้ป่วยวัยรุ่นอายุระหว่าง 15-19 ปีนั้น เสี่ยงฆ่าตัวตายมากกว่าผู้สูงอายุ และในประเทศไทยพบผู้ป่วยโลกซึมเศร้า 1.5 ล้านคน หรือร้อยละ 2.5 ของประชากรไทย  และผู้หญิงมีความเสี่ยงกว่าผู้ชาย ถึง1.7 เท่า ทั้งนี้ความเข้าใจของคนรอบข้าง ครอบครัว และสังคมนั้นคือสิ่งสำคัญมากที่สุด จึงได้มีการรณรงค์ 5 มาตรการสำคัญ ดังนี้ คือ 

  1. ลดอคติ สร้างความตระหนัก สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
  2. เร่งค้นหาและป้องกันผู้มีความเสี่ยง
  3. ลดระยะเวลาความรุนแรงของโรค
  4. ป้องกันการฆ่าตัวตาย
  5. ป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ

นพ.โสภณ เมฆธน ยังกล่าวอีกด้วยว่าในส่วนของอาการที่บอกเหตุของโรคซึมเศร้านั้น มี 9 ข้อคือ

  1. ซึมเศร้า หงุดหงิด ก้าวร้าว
  2. ขาดความสนใจสิ่งรอบข้าง
  3. ไม่มีสมาธิ
  4. อ่อนเพลีย
  5. เชื่องช้า
  6. กินอาหารมากขึ้นหรือน้อยลง
  7. นอนหลับมากขึ้นหรือน้อยลง
  8. ตำหนิตัวเอง
  9. พยายามฆ่าตัวตาย  หากมีอาการเหล่านี้ถึง 5 ข้อติดต่อกัน 2 สัปดาห์ ให้สงสัยว่าอาจจะเป็น ” โรคซึมเศร้า “

          ภาวะซึมเศร้า  นั้นเกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง และส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม สำหรับกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้านั้นคือ ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ติดสุรา ติดสารเสพติด รวมถึงผู้ที่เสียบุคคลที่หรือหรือของที่รักไป น.ต.นพ.บุญเรือง กล่าว

ซึ่งในช่วงนี้ที่เห็นว่ามีการฆ่าตัวตายมากนั้น มีส่วนสัมพันธ์กับฤดูกาล ในต่างประเทศจะเป็นหน้าหนาว ส่วนประเทศไทยจะเป็นหน้าร้อน หรือช่วงต้นเดือนเมษายน-พฤษภาคมจะพบมากที่สุด เพราะเครียดจากเหตุหลายประการ ประกอบกับซึมเศร้า อย่างไรก็ตามการเสนอข่าวการฆ่าตัวตายก็มีส่วนทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ และยังพบว่ามีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดังนั้นในช่วงเทศกาล กลุ่มเสี่ยงควรงดดื่มเป็นอย่างยิ่ง