กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมากหลังมีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ได้โพสต์ภาพเผยให้เห็น พระสงฆ์ รูปหนึ่งเดินเลือกซื้อของอยู่ในซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งหนึ่ง ย่านจรัญสนิทวงศ์ กทม. ช่วงเวลาประมาณ 2 ทุ่ม สร้างความประหลาดใจให้กับบรรดาชาวเน็ต พร้อมตั้งคำถามว่า พระสงฆ์ทำแบบนี้ ผิดพระวินัยหรือไม่ ?

วันนี้ 12 มกราคม 2561 หลังจากที่มีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ ‘Smith Tungkasmit’ ซึ่งเป็นเฟซบุ๊กส่วนตัวของ ดร.สมิทธ์ ตุงคะสมิต อาจารย์วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ทำการโพสต์ภาพเผยให้เห็น พระสงฆ์ เดินเข้าไปเลือกซื้อของในซุปเปอร์มาร์เก็ต

 

โดยภาพที่เห็นนั้นพระสงฆ์กำลังหิ้วตะกร้าซึ่งมีการซื้อทั้งไส้กรอก และน้ำองุ่นซึ่งมีราคาค่อนข้างสูง ทั้งนี้ผู้โพสต์ยังมีการระบุข้อความเพิ่มเติมอีกด้วยว่า

‘ มาฟู๊ดแลนด์ตอนสองทุ่ม…ถึงกับตะลึง…

 

เจอพระหิ้วตะกร้ามาซื้อไส้กรอกกับน้ำองุ่นราคาแพง…

 

เหมาะสมแล้วหรือ? พุทธศาสนิกชนควรปล่อยเลยตามเลยหรือ?

 

ฝากสำนักพุทธฯช่วยตรวจสอบด้วยครับ เพราะผู้จัดการที่นี่บอกว่ามาประจำเลย ‘

 

หลังจากโพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ไปในโลกโวเชียลทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก โดยชาวเน็ตตั้งคำถามว่าการที่พระเดินออกมาซื้อของในห้างแบบนี้ผิดวินัยหรือไม่ ?

 

ส่วนการที่พระไปเดินห้างมีความเหมาะสมกับเพเพศภาวะของความเป็นพระภิกษุหรือไม่อย่างไรนั้น เป็นเรื่องของพระวินัยหรือศีลของพระภิกษุ ตามหลักพระวินัยนั้นไม่มีข้อบัญญัติตรงๆว่า ห้าม หรือ ไม่ห้ามให้พระไปเดินห้าง

 

เพราะว่าในสมัยนั้นห้างสรรพสินค้าก็ยังไม่เกิดขึ้นแต่ก็มีศีลบ้างข้อที่พอจะอนุโลม อธิบายกันได้คือ พระพุทธเจ้าห้ามไม่ให้พระภิกษุไปในที่อโคจร ที่ไม่สมควรจะไปอย่างเช่น ไปดูการจัดกองทัพที่รบกัน หรือเข้าไปในบ้านหรือในชุมชนในเวลาที่ไม่ควรจะเข้าไปอย่างเช่นในเวลายามวิกาล คือตอนกลางคืนค่ำมืด เพราะอาจทำให้ชาวบ้านติเตียนได้

 

ซึ่งในปัจจุบันคณะสงฆ์ก็ได้มีนโยบายไม่ให้พระไปเดินในที่อโคจรเช่นห้างสรรพสินค้า หรืออะไรต่างๆ หรือแม้แต่การสะพายกล้องถ่ายรูป หรืออะไรต่างๆที่มีกิริยาเหมือนฆราวาสที่ทำกันทั่วๆไป

 

เรียกได้ว่าตามหลักพระวินัยไม่มีศีลข้อแบบนี้โดยตรงที่จะมาห้ามแบบนี้โดยตรง แต่ว่าถ้าเมื่อพูดถึงความเหมาะสม ความควรหรือไม่ควรนั้น ในทัศนะของพระภิษุด้วยกันก็เห็นว่าถ้าไปโดยไม่มีเหตุจำเป็นที่จะต้องไปนั้น อย่างเช่นไปเดินดู เลือกซื้อสินค้า ไม่เป็นสิ่งที่สมควรจะทำ และไม่เหมาะสมที่จะไป กล่าวโดย พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, ดร. คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ข้อมูล ภาพ ข่าว : Smith Tungkasmit

ความคิดเห็นจากสมาชิกเฟซบุ๊ก

comments