เมื่อวานนี้ 24 พฤษภาคม 60 ที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวทิยาลัย โดย ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี แถลงข่าวการค้นพบ “ตะขาบน้ำตก” โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ จุฬาฯ ที่มี ศ.สมศักดิ์ ปัญหา เป็นผู้อำนวยการ ซึ่งได้ถูกเสนอให้เป็น 1 ใน 10 สุดยอดการค้นพบ สปีชีส์ใหม่ของโลก ประจำปี 2017 (2017 Top Ten New Species Award) จัดโดย สถาบันนานาชาติเพื่อการสำรวจสิ่งมีชีวิต หรือ IISE (International Institute for Species Exploration) ของมหาวิทยาลัยแอริโซน่า สหรัฐอเมริกา

ทั้งนี้ได้มีการลงนาม ในบันทึกข้อตกลงการทำวิจัยร่วมกันเพื่อทำวิจัยเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีและชีวเคมีของพิษตะขาบ 17 สายพันธุ์ ที่ค้นพบในประเทศไทย เพื่อเป็นการต่อยอดไปสู่ธุรกิจชีวภาพในอนาคตได้อีกด้วย

โดย “ตะขาบน้ำตก” (Scolopendra cataracta Siriwut, Edgecombe and Panha, 2016) นั้นเป็นตะขาบที่อาศัยและหากินใกล้กับแหล่งน้ำ สามารถว่ายน้ำและจับเหยื่อในน้ำได้ ซึ่งจะแตกต่างจาก ตะขาบแดงใหญ่ หรือ ตะขาบบ้าน ถือเป็นสัตว์ที่มีพิษอันตราย โดยทาง ทีมวิจัยศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ จุฬาฯ นั้นได้ค้นพบ ตะขาบน้ำตก นี้ที่ อุทยานแห่งชาติเขาสก ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ อำเภอพนม และ อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี  และ ตะขาบน้ำตก นี้ยังสามารถพบได้ที่ ลาว เวียดนาม

ซึ่ง ตะขาบน้ำตก นั้นจะมีลักษณะมีลำตัวเรียวยาวสีน้ำตาลเข้ม หนวดสีเหลืองลักษณะคล้ายลูกปัด ขาเดินทุกคู่มีสีเหลืองอ่อน ขาคู่สุดท้ายเรียวยาวปลายขาคู่สุดท้ายยาว ปล้องแรกติดลำตัวของขาคู่ สุดท้ายมีหนามขนาดเล็กปรากฎอยู่บริเวณด้านท้อง ผิวปล้องลำตัวด้านหลังเรียบไม่มีร่องคู่ขนาน  ซึ่งลักษณะที่ปรากฎทั้งหมดทำให้ ตะขาบน้ำตก จะแตกต่างจาก ตะขาบบ้าน ชนิดอื่น ๆอย่างเห็นได้ชัด

สนับสนุน ภาพ ข่าว : komchadluek , ThaiPBS , Matichon Online

ความคิดเห็นจากสมาชิกเฟซบุ๊ก

comments