เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมคุมประพฤติ ได้กล่าวถึง น.ส.แพรวา อดีตเยาวชน ที่ขับรถยนต์ฮอนด้าซีวิค เชี่ยวชนกับรถตู้ เป็นเหตุให้มีผู้โดยสารเสียชีวิตรวม 9 ราย เหตุเกิดเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2553 โดยคดีนี้มีคนให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ะศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษา โดยยืนโทษจำคุก 2 ปี แต่แก้โทษให้เพิ่มเวลารอลงอาญาจาก 3 ปี เป็น 4 ปี คุมประพฤติ 3 ปี พร้อมทั้งทำงานบริการสังคม จำนวน 144 ชั่วโมง ห้ามขับรถจนอายุ 25 ปี เมื่อปี 2557 จากการตรวจสอบพบว่า น.ส.แพรวา ช่วง 3 ปี ที่ผ่าน มา น.ส.แพรวา ไม่ได้ทำงานบริการสังคม โดนอ้างว่าติดเรียนหนังสือ ซึ่งพนักงานคุมประพฤติ ก็ผ่อนปรนให้

แต่พบว่าเมื่อช่วง เดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา น.ส.แพรวา ได้ส่งทนายความไปยื่นต่อศาลว่าได้ทำงานบริการสังคมไปแล้วจำนวน 90 ชั่วโมง โดยทำงานบริการสังคมที่โรงพยาบาลพระมงกุฎ มีการลงนามรับรองเป็นเอกสารจากทางโรงพยาบาล และทนายความนำไปยื่นต่อศาล และให้ น.ส.แพรวา ติดต่อพนักงานคุมประพฤติเพื่อแจ้งการทำงานบริการสังคม ที่เหลืออีก 30 ชั่วโมง กรมคุมประพฤติไม่เคยทราบเรื่องมาก่อน เพราะขั้นตอนการทำงานบริการสังคม ของผู้ถูกคุมประพฤติตามคำสั่งศาลนั้น กรมคุมประพฤติจะต้องออกหนังสือส่งตัวไปยังสถานที่ หรือโรงพยาบาล ที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือการรับรองของกรมคุมประพฤติ ไม่ใช่การดำเนินการได้ด้วยตนเอง

จากนั้นกรมคุมประพฤติได้แจ้งไปยังน.ส.แพรวา ว่าศาลมีคำสั่งดังกล่าว แต่ น.ส.แพรวา ปฏิเสธและบอกว่าจำดำเนินการเหมือนที่ผ่านมา จะกลับไปทำงานบริการสังคมที่โรงพยาบาลพระมงกุฎ เช่นเดิมอีกทั้งยังไปร้องผู้ตรวจการแผ่นดินว่า ถูกเจ้าหน้าที่ข่มขู่ อย่างไรก็ตามกรมคุมประพฤติได้รายงานพฤติกรรม และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ศาลรับทราบ และศาลได้นัดไต่สวนในวันที่ 21 มิ .ย. เหลืออีก 30 ชั่วโมงจะดำเนินการอย่างไร และอาจรวมถึงทำงานบริการสังคมที่่ผ่านมาจะชอบด้วยระเบียบหรือไม่ซึ่งเป็นดุลยพินิจของศาล

พ.ต.อ.ณรัชต์ กล่าวด้วยว่า กรณีของน.ส.แพรวา ศาลเห็นว่าบุคลคลดังกล่าวเป็นเยาวชน ต้องการให้โอกาสแก้ไขความผิด ได้เรียนหนังสือและกลับมาทำงานรับใช้สังคม แต่ปรากฏว่าไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด การทำงานบริการสังคมนั้นต้องมีการตกลง เห็นพ้องร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งพนักงานคุมประพฤติและผู้ถูกคุมประพฤติ ไม่ใช่อยากไปทำงานบริการสังคมที่ไหนก็ได้ เพราะจะให้มั่นใจได้อย่างไรว่า ไปทำงานจริง ดังนั้นเพื่อความโปร่งใส กรมคุมประพฤติจึงต้องมีระบบและระเบียบแบบแผนรองรับบุคคลที่เข้ามาสู่การดูแลตามคำสั่งศาลอย่างชัดเจน

ความคิดเห็นจากสมาชิกเฟซบุ๊ก

comments