นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง รักษาการรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด กล่าวว่า หลังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว  (สุดระทึก! หญิงนิรนาม ตกรางรถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ สถานีทับช้างดับอนาถ) ทางบริษัทได้ส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบว่า เหตุเกิดเวลาประมาณ 07.00 น. ที่สถานีบ้านทับช้าง เกิดเหตุผู้โดยสารหญิงซึ่งตั้งครรภ์ ได้ 6 เดือน ทราบชื่อภายหลังคือ นางสาว รสรินทร์ เปลี่ยนหล้า อายุ 31 ปี ชาว อำเภอเวียงสา จีงหวัด น่าน อายุ 30 ปี  

โดยหญิงคนดังกล่าว ได้กำลังรอรถไฟฟ้าเกิดพลัดตกลงไปที่ชานชาลา ซึ่งจังหวะที่เกิดเหตุ เป็นช่วงขณะที่รถไฟฟ้ากำลังเทียบชานชาลาโดยพนักงานขับรถไฟฟ้า และพนักงานรักษความปลอดภัย ได้กดปุ่มหยุดรถฉุกเฉินทั้งคู่ แต่ไม่ทัน รถไฟฟ้าได้คร่อมร่างผู้โดยสารสาวรายนี้ไปแล้ว หลังจากเจ้าหน้าที่แจ้งไปตำรวจและหน่วยแพย์ พบผู้โดยสารเสียชีวิตแล้ว ( เผยคลิป! นาทีสยอง หญิงท้อง 6 เดือน ตกรางแอร์พอร์ตลิงก์ สถานีบ้านทับช้าง ดับอนาถ ) 

ทั้งนี้ ภายหลังจากเกิดเหตุ ตนและเจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจสอบ กล้องวงจรปิด (ซีซีทีวี) พบผู้เสียชีวิตเดินไปยังชานชาลาจำนวน 3 ก้าวและเดินเลยลงไปที่รางเลย โดยขณะนั้นภายในสถานีทับช้างไม่มีผู้โดยสารมากนัก ไม่มีใครผลัก หรืออยู่ใกล้กับผู้เสียชีวิตเลย ในภาพผู้เสียชีวิตคล้ายอยู่ในอาการเหม่อลอย มองไปด้านหน้า ไม่ได้มีการเล่นมือถือ และมองไปที่รถไฟก่อนที่จะก้าวไปข้างหน้าและเกิดเหตุดังกล่าว โดยขณะนี้อยู่ระหว่างเจ้าหน้าที่ตรวจสอบสาเหตุการตายให้ละเอียดอีกครั้ง อย่างไรก็ตามทางบริษัทขอแสดงความเสียใจต่อญาติผู้เสียชีวิตด้วย

ส่วนการเยียวยาครอบครัวผู้เสียชีวิตนั้น ทางบริษัทอยู่ระหว่างการพิจารณา โดยพร้อมให้การช่วยเหลือเต็มที่ ซึ่งทางบริษัทมีประกันคุ้มครองผู้โดยสารอยู่แล้ว แต่ทางประกันจะต้องตรวจสอบสาเหตุการเสียชีวิตที่แท้จริงก่อน ส่วนวงเงินประกันอยู่ระหว่างการตรวจสอบ นอกจากนี้แอร์พอร์ตลิ้งก์ พร้อมจะเป็นเจ้าภาพจัดงานศพ และ เยียวยาครอบครัวอย่างเต็มที่

โดยทางบริษัทมี โครงการการ ติดตั้งประตูกั้นชานชาลาสูงครึ่งลาน (Half Height Platform Screen Door) หรือ ประตูกั้นระหว่างกั้นระหว่างจุดรอของผู้โดยสารและรางรถไฟ  งบประมาณ 200 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนยื่นซองเทคนิคจากบริษัทที่สนใจเข้าร่วมประกวดราคา โดยมีกำหนดยื่นซองในวันที่ 29 มิ.ย.นี้ และเริ่มขั้นตอนการประกวดราคาใน วันที่ 27 ก.ค. คาดจะดำเนินการติดตั้งเสร็จภายในเดือน เม.ย. 61

สำหรับประตูกั้นชานชลานั้นขณะนี้มีที่สถานีสุวรรณภูมิเพียงสถานีเดียว กำลังดำเนินการติดตั้งประตูกั้นเพิ่มอีก 7 สถานี ได้แก่ สถานีพญาไท สถานีราชปรารถ สถานีมักกะสัน สถานีรามคำแหง สถานีหัวหมาก สถานีบ้านทับช้าง และ สถานีลาดกระบัง สำหรับกรณีผู้เสียชีวิตไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ผู้โดยสารแน่นสถานี จึงไม่ใช่สาเหตุที่เกิดจากการเบียดเสียดระหว่างที่ผู้โดยสารรอรถไฟฟ้า

แต่หากเกิดขึ้นกรณีที่จำนวนผู้โดยสารแน่นสถานีมากเกินไป โดยเฉพาะชม.เร่งด่วน เช้าและเย็น ทางบริษัทมีมาตรการในการจำกัดคนขึ้นบริเวณชานชาลา โดยให้ผู้โดยสารต่อแถวรอบริเวณชั้น 2 หรือชั้นขายตั๋ว เพื่อรอระบายผู้โดยสารที่อยู่ในชั้นชานชาลาขึ้นรถไฟฟ้าให้หมดก่อน ถึงจะให้ขึ้นไปรอรถไฟฟ้าขบวนต่อไปได้

สนับสนุนภาพ ข่าว : bangkokbiznews