กรุงเทพมหานคร ยังคงยึดมาตรการตามแนวทางเดิมที่เคยปฏิบัติ และขอความร่วมมืองด กิจกรรมรื่นเริง เช่น ถนนสีลม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับความนิยมที่มากในวัยรุ่นจากที่เคยมีการเปิดเพลงเสียงดัง การเปิดท้ายรถปิกอัพ และขึ้นไปเต้นบนรถ กิจกรรมดังกล่าวมาในปีนี้ต้องงดโดยเด็ดขาด
ซึ่งได้มีการขอความร่วมมือ ประชาชนเล่นน้ำสงกรานต์ภายใต้ มาตรการ ” 5 ป. “ คือ ปลอดปืนฉีดน้ำขนาดใหญ่ ปลอดแอลกอฮอล์ ปลอดโป๊ ปลอดแป้ง และประหยัดน้ำ  รวมทั้งไม่ฉวยโอกาสลวนลามผู้อื่นจากการเล่นสงกรานต์ด้วย

โดยทางกรุงเทพมหานครนั้น ได้มีการกำหนดพื้นที่สงกรานต์ปลอดภัยไว้ ทั้งหมด 50 เขต ด้วยกัน และ บริเวณถนนข้าวสาร นั้นได้มีการกำหนดพื้นที่บริเวณเล่นสงกรานต์ไว้อย่างชัดเจน งดให้มีงานรื่นเริง จึงมีการขอความร่วมมือประชาชนไม่ให้เล่นสงกรานต์นอกพื้นที่ที่กำหนด เพราะจะไปละเมิดประชาชนที่เดินทางมาถวายสักการะพระบรมศฑพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และไม่ประสงค์ที่จะร่วมเล่นน้ำสงกรานต์

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้เตรียมมาตรการดูแล อำนวยความสะดวก ผู้ร่วมกราบถวายบังคมพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รอบท้องสนามหลวง และโดยรอบพระบรมมหาราชวัง จะไม่มีการจัดงานสงกรานต์ ส่วนอีกจุดหนึ่งคือ ที่ลานคนเมือง ศาลาว่าการ กทม.จะจัดงานเทศกาลมหาสงกรานต์กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 12 – 15 เม.ย.นี้
และในวัน ในวันที่ 12 เม.ย.จะมีพิธีอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ออกจากพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยขบวนอัญเชิญพระแห่ออกจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไปตามเส้นทางที่กำหนด ส่วนในเรื่องของมาตรการลดอุบัติเหตุ กรุงเทพมหานคร จะบูรณาการระหว่าง ทหาร ตำรวจ และหน่วยงานทางการแพทย์ ให้สำนักงานเขตออกสำรวจจุดบริการรถวิ่งเสริม ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ในปีนี้ด้วย และได้มีการจัดตั้งจุดตรวจความเร็วและปริมาณแอลกฮอล์คนขับโดยสำนักงานเขตอีกด้วย