เพจชื่อดัง แหม่มโพธิ์ดำ เผยเรื่องราวของ พระราชธรรมนิเทศ ‘พระพยอม กัลยาโณ’ ขอความเป็นธรรม หวั่นกลัว พื้ที่บริเวณ ‘วัดสวนแก้ว’ จะถูกยึดที่ดิน ที่ซื้อมาอย่างถูกต้องตามขั้นตอน เนื่องจากเจ้าของเก่าทำเรื่องฟ้องร้องเพื่อทวงที่ดินคืน

เมื่อวานนี้ 27 พ.ย 60 เพจชื่อดังแหม่มโพธิ์ดำ ได้รับการร้องเรียนจาก ‘พระพยอม กัลยาโณ’ เจ้าอาวาส มูลนิธิวัดสวนแก้ว จังหวัดนนทบุรี โดยอ้างว่า ทางวัดได้ซื้อที่ดินมาในปี พ.ศ. 2547 ได้ทำเอกสารตามขั้นตอนทุกอย่าง อย่างถูกต้อง

โดยที่ดินนี้เป็นของคนที่เคยอาศัยที่ดินของญาติ และเอาที่ดินมาเป็นของตนเอง ต่อมาได้นำที่ดินนั้นมาขายวัด แต่ภายหลังเจ้าของเดิมรู้ก็ฟ้องร้องเรียกที่ดินคืน ซึ่งคนขายที่ดิน ก็ได้เซ็นต์ยินยอมว่าไม่ได้แอบครอบครองที่ดิน และแอบอ้างเป็นเจ้าของ แค่เป็นคนเช่าที่ดินเท่านั้น เพราะรู้อยู่แก่ใจว่าที่ดินเป็นของญาติ

พอที่ดินกลับมาเป็นของเจ้าของเดิม โฉนดวัดก็เลยถือเป็นโมฆะและกลายเป็น ‘โฉนดถุงกล้วยแขก’ คือมีโฉนดที่ดินแต่ก็ไม่มีค่า

โดยก่อนหน้านี้ นายจำนง หิรัญประดิษฐ์ และพวกได้ร้องคัดค้านต่อศาลเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2546 ว่า การครอบครองที่ดินเลขที่ 8215 ต.บางเลน อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี เนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 52 ตารางวา ที่ นางวันทนา สุขสำเริง เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ และครอบครองปรปักษ์ไม่ถูกต้อง ซึ่ง นางวันทนา ได้ขายที่ดินให้แก่มูลนิธิสวนแก้ว จำนวน 1 ไร่ 1 งาน 55 ตารางวา ต่อมา ศาลพิจารณาจากหลักฐานแล้วตัดสินให้การครอบครองปรปักษ์ที่ดินของนางวันทนา เป็นโมฆะ

อนุสาวรีย์ โฉนดถุงกล้วยแขก มูลนิธิวัดสวนแก้ว

โดยเพจดัง แหม่มโพธิ์ดำ โพสต์ระบุข้อความว่า

‘ วันนี้มีกรณีน่าอาภัพที่สังคมควรช่วยกันตรวจสอบคืนความเป็นธรรมแก่ชนผู้บริสุทธิ์เป็นสุจริตชน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2560 วัดสวนแก้ว ได้รับคำสั่งไม่ชอบทางกฎหมาย เป็นกรณีให้สังคมศึกษาว่า ยุคหนึ่งสมัยหนึ่ง มีการใช้หลักฐานอะไรก็ได้ ไม่ต้องตรวจสอบที่มาให้ชัดเจนนำมาเป็นหลักฐานพยาน ใช้เป็นบรรทัดฐานทางคดีฟ้องร้อง ทำให้ผู้บริสุทธิ์ สุจริตชนต้องเสียหายหมดกรรมสิทธิ์โดยไร้การเยียวยา ถึงแม้จะมีหลักฐานทางคดีใหม่ของวัดที่ยึดหลักกรรมสิทธิ์อันสุจริต

ในปี 2547 ที่วัดได้ซื้อที่ดิน แล้ววัดก็ถือครอบครองโดยชอบธรรมในส่วนของวัด เพราะได้ไปซื้อขายบนกรมที่ดินต่อเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน ทำการโอนให้กรรมสิทธิ์เรามา โดยเสียค่าตอบแทนโดยสุจริต และได้จดทะเบียนโดยสุจริต จ่ายภาษีเข้ารัฐถูกต้อง เมื่อนำมาใช้ประโยชน์เผยแผ่-พัฒนา-สงเคราะห์ผู้ยากไร้ที่พึ่งในสังคมผู้เดือดร้อนไม่มีที่พักที่ทำกินให้มีสัมมาชีพ ได้ประมาณประมาณปีกว่า แล้วในภายหลังผู้ขายให้วัด ได้ไปยินยอมความกันให้อีกฝ่ายคู่กรณีในที่ดินแปลงใหญ่ ในปี 2549 ก็มีการอาศัยศาลเป็นเครื่องมือและช่องทางกฎหมายในการเรียกที่ดินคืนโดยการตัดฟ้องระงับข้อพิพาทรื้อคดีนำเอกสารพยาน ระยะเวลาอะไรที่พบข้อพิรุธที่ส่อไปในทางฉ้อฉลได้กรรมสิทธิ์ไป

ในปี 2559 วัดสวนแก้วก็ได้เก็บข้อมูลที่ชอบด้วยกฏหมายมาร้องครอบครองปรปักษ์เป็นคดีใหม่ โดยชั้นต้นสรุปวัดก็ถือครอบครองโดยไม่สุจริต ให้ความเป็นจริงที่แตกต่างจากกรณีศึกษาคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๐๘๒๑/๒๕๕๖ เมื่อมีการเลิกบริษัทจำกัดและผู้ชำระบัญชีได้ยื่นขอจดทะเบียนต่อทางการภายใน 14 วัน นับแต่วันเลิกบริษัทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1254 แล้ว ย่อมทำให้สภาพความเป็นนิติบุคคลของบริษัทสิ้นสุดลง รวมทั้งกรรมการบริษัทย่อมไม่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทได้อีกต่อไป เว้นแต่กรรมการบริษัทนั้นเป็นผู้ชำระบัญชีด้วย จึงจะมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทต่อไปในฐานะผู้ชำระบัญชี ตามมาตรา 1252

ดังนั้น เมื่อบริษัท ส. เลิกกันและมีการตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้ชำระบัญชีโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว อำนาจของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทย่อมหมดไป และอำนาจจัดการแทนบริษัท ย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 1 ผู้ชำระบัญชี การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งไม่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท อีกต่อไป ได้ทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่างานก่อสร้างซึ่งบริษัท (มูลนิธิ) จะได้รับจากจำเลยที่ 3 ในนามของบริษัท ให้แก่โจทก์

โดยจำเลยที่ 1 หาได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าบริษัท ได้โอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์ แล้ว โจทก์ไม่อาจฟ้องบังคับจำเลยที่ 3 ให้รับผิดต่อโจทก์ได้ จำเลยที่ 1 เป็นเพียงผู้ชำระบัญชีของบริษัท มีหน้าที่ตามมาตรา 1250 คือชำระสะสางงานของบริษัทให้เสร็จไปกับจัดการใช้หนี้เงินและจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัทเท่านั้นหาได้มีบทบัญญัติใดโดยตรงให้ผู้ชำระบัญชีต้องรับผิดเป็นส่วนตัวในหนี้สินของบริษัท ที่ตนเป็นผู้ชำระบัญชีค้างชำระบุคคลภายนอกอยู่ไม่ ประกอบกับเมื่อบริษัท ส. ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เพราะขณะที่ทำสัญญาบริษัทได้จดทะเบียนเลิกบริษัทไปก่อนแล้ว จึงไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลอีกต่อไป สัญญาจึงไม่มีผลผูกพันบริษัท ส. และโจทก์ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทจึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ในฐานะผู้ชำระบัญชีอีกด้วย

ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)ประกอบมาตรา 246 และ 247 จึงเป็นกรณีให้สังคมผู้คิดผู้สร้างความยุติธรรมศึกษามาเข้าใจกัน ขอเจริญพร ‘

พระพยอม กลฺยาโณ เจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว นนทบุรี

ข้อมูล ภาพ ข่าว : เพจ แหม่มโพธิ์ดำ

 

ความคิดเห็นจากสมาชิกเฟซบุ๊ก

comments