เมื่อพูดถึงทุเรียน บางคนถึงขั้นรับไม่ได้ เนื่องจากไม่ชอบกลิ่นของทุเรียน แต่บางคนปลื้มสุดๆ เนื่องจากชอบกลิ่นฉุนของทุเรียน โดยล่าสุดนั้น รศ.วรภัทร ลัคนทินวงศ์ ผอ.ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัยขั้นสูง และเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เปิดเผยว่า มูลค่าส่งออกผล ทุเรียน สดสูงขึ้นในทุกปี โดยเมื่อปี 59 นั้น สูงถึง 17,468 ล้านบาท เติบโตจากเมื่อปี 58 ประมาร 31.87 % โดยเฉพาะ ทุเรียนหมอนทอง ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากใน ประเทศจีน ฮ่องกง และในไต้หวัน แต่ในขณะเดียวกันนั้น กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ของทุเรียน และผลที่แตกขณะขนส่งหรือวางขาย ที่ประเทศปลายทาง ซึ่งในแง่ของมาตรฐานสินค้าการเกษตรเพื่อการส่งออกนั้น ผลทุเรียนจะต้องได้ทรงมาตรฐาน อยู่ในสภาพสมบูรณ์ รวมถึงได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP และ GAP เป็นต้น

ทั้งนี้ อาจารย์ประจำวิชาเทคโนโลยีการเกษตร แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เผยอีกด้วยว่า “คณะวิทยาศาสตร์ มธ. ได้พัฒนานวัตกรรมเคลือบผล ทุเรียน สดด้วยเทคนิค Active Coating ลดกลิ่น – ลดแตกของผลทุเรียนสด โดยมี นายประกาสิทธิ์ ชุ่มชื่น นักศึกษา ปริญญาตรี ร่วมพัฒนาจนสามารถชะลอการสุกขณะขนส่งได้นานถึง 2 สัปดาห์และจะสุกพร้อมวางขายได้ทันทีเมื่อถึงปลายทาง อีกทั้งยังต่ออายุการเก็บรักษาได้เม่าตัว ลดปัยหาผลแตกขณะขนส่งหรือส่งออกต่างประเทศได้ 100 % คงคุณภาพรสชาติเนื้อทุเรียนภายใน ซึ่งมีต้นทุนเฉลี่ยเพียง 2-3 บาทต่อผล “

โดยได้ระบุเพิ่มเติมอีกด้วยว่า นวัตกรรมดังกล่าวนี้เกิดจากการพัฒนา 2 ขั้นตอน คือ 1. ขั้นเตรียม Active Coating นำส่วนประกอบสำคัญ 3 ชนิด ได้แก่ เส้นใยธรรมชาติ (Fiber) ที่ผ่านการดัดแปลงดครงสร้าง และผงถ่านกัมมันต์ (Actibe Carbon) ผสมรวมตามสัดส่วน เพื่อดูดซับกลิ่นของทุเรียนอายุ 110+5 วัน มาเคลือบด้วย Active Coating ที่เตรียมดีแล้วให้ทั่วทั้งผล จะมีความหนาขึ้นมา 2-3 มม. เพื่อป้องกันเปลือกทุเรียนแตกระหว่างทาง แต่อย่างไรแล้ว นวัตกรรมนี้ยังไม่มีขายสูตรในเชิงพาณิชย์ แต่เกษตรกรสวนทุเรียนที่สนใจ สามารถขอคำปรึกษาได้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

ภาพ ข่าว : dailynews

ความคิดเห็นจากสมาชิกเฟซบุ๊ก

comments