กลายเป็นเรื่องราวดราม่าใหญ่โตเกี่ยวกับ บริษัทประกัน ปฏิเสธการจ่ายค่าชดเชยให้กับผู้ทำประกัน โดยเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน สมาชิกพันทิปหมายเลข 1422546 ได้ตั้งกระทู้ชื่อว่า “แฉ!!! กลโกงประกันผู้สูงอายุ โม้ไม่ต้องตรวจสุขภาพ แต่พอตาย อ้างมีโรคก่อนแล้ว?! (สงสารคนแก่)” โดยเป็นการแฉกลโกง ว่ามีบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่งที่มีการโฆษณาว่าไม่ต้องตรวจสุขภาพก่อนทำประกันชีวิต แต่พอถึงเวลาจริงๆ มีผู้สูงอายุคนดังกล่าวเกิดสะดุดขาตัวเองล้ม และเสียชีวิต แพทย์วินิจฉัยว่าการล้มกระแทกทำให้กระดูกคอหัก กระทบกับภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบของผู้เสียชีวิต ทั้งนี้ เมื่อมีการเคลมประกันแล้ว ทางบริษัทไม่ยอมจ่ายให้ โดยอ้างว่าสาเหตุการเสียชีวิตครั้งนี้เพราะโรคประจำตัวของผู้ป่วยเอง

“และแล้ววันนี้ก็มาถึงครับ ..
หลังจากที่ บ.ประกันภัยทั้งหลาย ประโครมโฆษณาประกันผู้สูงอายุทั้งหลาย มาหลายปี โฆษณาเหมือนหลอกลวง จงใจให้เข้าใจผิด (ราวกับสะกดจิตผู้สูงอายุ) มีการร้องเรียนการถูกเอาเปรียบจากบริษัทประกันชีวิตเข้ามาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค 6 รายบางรายไม่สามารถเจรจากันได้ จนต้องฟ้องร้องต่อศาลไป แต่ยังไม่พบว่าทางบริษัทแก้ปัญหาที่ต้นเหตุคือการแก้สัญญาให้เป็นไปตามที่มีการโฆษณา

“ตามหลักเกณฑ์ของ คปภ. ระบุไว้อย่างชัดเจนให้ว่าถ้าคุณโฆษณาว่าไม่ต้องตรวจสุขภาพก่อนทำประกันชีวิตคุณ ก็ต้องระบุหลักเกณฑ์นี้ไว้ในกรมธรรม์ด้วย เมื่อประมาณปี 2556 เกิดเหตุผู้สูงอายุรายหนึ่งซึ่งทำ ประกันอุบัติเหตุ ผ่านตัวแทนขายประกันของบริษัทประกันชีวิตเอกชนแห่งหนึ่งซึ่งก่อนทำประกันนั้น ผู้ทำประกันได้สอบถามกับตัวแทนฯแล้วว่าจำเป็นต้องตรวจสุขภาพหรือไม่ ซึ่งทางตัวแทนขายฯ ยืนยันว่าไม่จำเป็นต้องตรวจสุขภาพก่อน สามารถทำประกันได้เลย แต่ต่อมาผู้สูงอายุคนดังกล่าวเกิดสะดุดขาตัวเองล้ม และเสียชีวิต แพทย์วินิจฉัยว่าการล้มกระแทกทำให้กระดูกคอหัก กระทบกับภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบของผู้เสียชีวิต ทั้งนี้ เมื่อมีการเคลมประกันแล้ว

***ทางบริษัทไม่ยอมจ่ายให้ โดยอ้างว่าสาเหตุการเสียชีวิตครั้งนี้เพราะโรคประจำตัวของผู้ป่วยเอง(เลวไหม?)
ความเห็นส่วนตัวคือ ทำไมโฆษณา กับตัวสัญญาถึงไม่ตรงกัน = เข้าข่ายหลอกลวง หรือไม่? ”

ทั้งนี้สมาชิกเฟซบุ๊กชื่อว่า Ratiya Intarajinda ก็ได้โพสรูปภาพเป็นใบกรมธรรม์ของ บริษัทประกันภัยเอกชนแห่งหนึ่ง โดยระบุว่า ไปทำประกันชีวิตให้แม่ ก่อนจะตัดสินใจทำเค้าบอกว่าไม่ต้องตรวจสุขภาพทำได้เลย แต่พอแม่เสียชีวิต ทางบริษัทก็ได้อ้างคำเดิมๆคือ “อ้างป่วยก่อนทำสัญญา” ตามที่ท่านในฐานะผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยข้างต้น ได้ส่งหลักฐานเพื่อประกอบการเรียกร้องสินไหมมรณกรรม เนื่องจากผู้เอาประกันภัยได้ถึงแก่กรรม ดังรายละเอียดทราบแล้วนั้น

บริษัทขอแสดงความเสียใจต่อท่านและครอบครัว มา ณ โอกาสนี้ พร้อมกันนี้ขอเรียนว่า จากการตรวจสอบพบว่า สุขภาพของผู้เอาประกันภัยไม่อยู่ในเกณฑ์การรับประกันของบริษัทฯ เนื่องจากผู้เอาประกันภัยมีสุขภาพไม่สมบูรณ์ เป็นโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง มาก่อนทำสัญญาประกันชีวิต แต่มิได้เปิดเผยข้อความจริงนี้อันเป็นสาระสำคัญต่อการพิจารณารับประกันให้บริษัทฯทราบ ซึ่งหากทราบ บริษัทฯจะไม่เข้าทำสัญญาประกันชีวิตแต่อย่างใด ดังนั้น สัญญาประกันชีวิตตามกรมธรรม์ประกันภัยข้างต้น จึงตกเป็นโมฆียะตามมาตรา… แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

บริษัทฯ โดยคณะกรรมการสินไหมประกันชีวิตได้พิจารณาแล้ว มีความเสียใจที่ไม่สามารถจ่ายค่าชดเชยสินไหมฯ ตามที่ท่านเรียกร้องมาได้ และโดยหนังสือฉบับนี้ บริษัทฯขอบอกล้างสัญญาประกันชีวิตตามกรมธรรม์ประกันภัยข้างต้น โดยบริษัทฯ จะคืนเงินค่าเบี้ยประกันภัยหลังจากหักหนี้สินหรือจำนวนเงินใดๆ ที่บริษัทฯได้จ่ายไปแล้ว(ถ้ามี)…”

จนเกิดคำถามขึ้นว่าแล้วที่โฆษณาว่าไม่ต้องตรวจสุขภาพก่อนทำประกัน คืออะไร!!!? พอถึงเวลาจะมาอ้างว่าผู้ทำประกันปกปิดความจริง เรื่องนี้นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) แจงว่าการทำประกันชีวิตที่มีการโฆษณาว่า “ไม่ต้องตรวจสุขภาพนั้น” จริงๆ แล้วคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ระบุไว้ว่า การโฆษณาเงื่อนไขใดๆ ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจในการทำประกันชีวิตของประชาชน จะต้องมีการระบุเงื่อนไขนั้นเอาไว้ในกรมธรรม์ด้วย แต่ปัจจุบันยังไม่พบการระบุเรื่องดังกล่าวเอาไว้ในกรมธรรม์แต่อย่างใด เพราะฉะนั้นเวลาจ่ายสินไหมทางบริษัทที่มักใช้ข้ออ้างว่าผู้ทำประกันชีวิตปกปิดความจริงนั้น ถือเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค แนะนำให้นำเอกสารการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ ใช้ประกอบเป็นหลักฐานเพื่อใช้ในการต่อสู้คดี และขอเพิกถอนใบอนุญาตต่อไป

ล่าสุดเพจ ข้อกฎหมายเด่น ฎีกาดัง fanpage ได้ออกมาอธิบายเกี่ยวกรณีดังกล่าวไว้ให้เข้าใจง่ายๆดังนี้

ก่อนอื่นผมจำเป็นต้องนำกฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องนี้มาแสดงให้ทุกท่านเห็นก่อนนะครับว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. มาตรา 865 ครับ

มาตรา 865 บัญญัติว่าถ้าในเวลาทำสัญญาประกันชีวิต บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพ หรือมรณะของเขานั้นก็ดี รู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริง ซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีก หรือให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้วแถลงข้อความนั้นเป็นความเท็จไซร้ท่านว่าสัญญานั้นเป็นโมฆียะ

ผมอธิบายข้อกฎหมายสั้นๆง่ายๆอย่างนี้ครับว่า หากท่านจะทำสัญญา และท่านทราบดีว่าท่านป่วยเป็นโรคดังต่อไปนี้ ท่านจะต้องเปิดเผยให้บริษัทประกันชีวิตทราบด้วย ท่านจะพูดเท็จหรือปกปิดไม่ได้ แล้วอย่าคิดที่จะปกปิดเพราะเรื่องป่วยเป็นโรคนั้นสามารถตรวจสอบได้ในภายหลัง. ย้ำนะครับแม้เขาจะไม่ตรวจสุขภาพหรือไม่ถามท่านเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพก็ตาม ท่านก็ยังคงมีหน้าที่ต้องบอกเขาหรือเปิดเผยให้เขาทราบว่าท่านป่วย โดยมีโรคสำคัญที่หากท่านรู้ว่าท่านเป็นแล้วท่านจะต้องบอกเขาดังต่อไปนี้ครับ

1.โรคมะเร็งลำไส้
2.โรคเบาหวาน
3.โรคความดันโลหิตสูง
4.โรคตับแข็ง
5.โรคพิษสุราเรื้อรัง
6.โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
7.โรคลมชัก
8.โรคไตวายร้ายแรง
9.โรคดีซ่าน

ท่านฟังต่อไปครับว่า หากท่านไม่แจ้งให้ บริษัทประกัน ทราบ พอผู้เอาประกันตาย บริษัทประกัน ตรวจสอบและทราบภายหลังเขาก็จะบอกล้างสัญญาโดยอ้างว่าท่านไม่เปิดเผยโรคดังกล่าวให้เขาทราบ ผลทางกฎหมายคือสัญญานั้นกลายเป็นโมฆะ เขาก็ปฏิเสธไม่จ่ายเงินตามสัญญาประกันฯให้ทายาทหรือผู้รับประโยชน์ของท่านนั่นเองครับ ซึ่งเป็นเรื่องเสียหายมาก ยิ่งไปกว่านั้นหากท่านปกปิดแล้ว แม้ต่อมาท่านจะตายด้วยโรคอื่นหรือสาเหตุอื่นก็ตามเขาก็ปฏิเสธไม่จ่ายเงินได้เช่นเดียวกัน ผมยกตัวอย่างให้ดูอย่างนี้ครับ. เช่นท่านป่วยเป็นโรคเบาหวาน ท่านทำสัญญาประกันชีวิตแต่ท่านไม่แจ้ง บริษัทประกัน ว่าท่านเป็นโรคเบาหวาน ต่อมาท่านตายด้วยอุบัติเหตุ อย่างนี้ถ้าต่อมาเขาตรวจสอบพบว่าท่านเป็นโรคเบาหวานเขาก็ปฏิเสธไม่จ่ายเงินได้

แต่หากท่านไม่รู้ว่าท่านเป็นโรคท่านก็ไม่ต้องบอกแม้ความจริงท่านจะเป็นก็ตาม ถ้าต่อมาท่านจะตายด้วย 1 ใน 9 โรค เช่นนี้บริษัทประกันฯก็ยังจะต้องจ่ายเงินตามสัญญานะครับ จะปฎิเสธไม่จ่ายไม่ได้

เรื่องที่มีโฆษณาเกลื่อนทีวีนั้น เป็นการที่ บริษัทประกัน เขาเอาเทคนิคหรือช่องว่างของกฎหมายมาออกเป็นโฆษณาเพื่อจูงใจให้มีการเข้าทำสัญญาได้โดยง่าย ถามว่ามันถูกหรือผิด ก็คงตอบยากครับ แต่คงเป็นเรื่องของมโนธรรมสำนึกมากกว่า ถ้ามีสำนึกจริงก็คงจะต้องแจ้งให้ผู้ทำสัญญาทราบด้วยว่า แม้จะไม่ต้องตรวจสุขภาพก็ยังจะต้องมีหน้าที่บอกว่าตนเองเป็นโรคร้ายแรงอะไรบ้าง ถ้าไม่บอกตายไปประกันจะไม่จ่ายเงิน ผมถามว่าจะมีผู้ทำสัญญาประกันชีวิตกี่คนที่เขาจะรู้เรื่องกฎหมายที่มันเป็นเทคนิคอย่างนี้. เห็นตามสื่อที่ออกมาก็รู้สึกเห็นใจนะครับอุตส่าห์ส่งเบี้ยมาตั้งห้าปีสิบปี พอตายแล้ว ประกันฯ ไม่จ่ายเงิน กลับเป็นภาระให้ลูกหลานเสียอีก หวังว่าจะมีเงินซักก้อนทำทุน แต่กลับไม่ได้ และเชื่อว่าจะมีอีกหลายคนที่จะเป็นอย่างนี้นะครับ

ดังนั้นเมื่อท่านทั้งหลายมีความรู้แล้ว ก็จะไม่ตกเป็นเหยื่อของกลเล่ห์นี้อีกต่อไป หากท่านใดที่พลาดไปแล้วก็ต้องรีบหาทางแก้ไขนะครับเมื่อตายไปจะได้ไม่เป็นภาระให้ลูกหลานต้องไปหาร้องเรียนหรือไปฟ้องคดี

 

ที่มา Pantip, FB Ratiya Intarajinda,ข้อกฎหมายเด่น ฎีกาดัง fanpage

ความคิดเห็นจากสมาชิกเฟซบุ๊ก

comments