ญาติสุดสลด โพสต์เรื่องราวผ่านโซเชียล เล่าว่าหลานชายวัย 20 ปีเกิดมีอาการป่วยหนักกลางดึก จึงรีบโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ 1669 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แต่เจ้าหน้าที่ไม่ส่งรถพยาบาลมารับ แนะนำให้กินยาพาราไปก่อน เดี๋ยวตอนเช้าจะมารับ สุดท้ายเสียชีวิต เพราะติดเชื้อในกระแสเลือด
โดยเมื่อวานนี้ 15 กันยายน 60 ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Api Brahman Land โพสต์ข้อความและภาพผ่านเฟซบุ๊ก กลุ่มประจวบขีรีขันธ์ ระบุว่า
‘ มีผู้เสียชีวิตจากการทำงานล่าช้าของสายด่วนฉุกเฉิน 1669 ประจวบคีรีขันธ์ เนื่องจากไม่ยอมจัดส่งรถกู้ชีพไปรับผู้ป่วยหลังจากได้รับแจ้ง บอกแต่เพียงให้ไปกินยาพารา แล้วเช้าจะส่งรถมารับ ขณะนี้ผู้ป่วยเสียชีวิตแล้วสาเหตุติดเชื้อในกระแสเลือดมาถึง รพ.ช้าเกินไป ผมอยากให้เจ้าหน้าที่คนที่รับเรื่องในวันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมา เวลาประมาณตีหนึ่ง มาขอขมาศพ หากไม่มาผมจะตามเอาเรื่องให้ถึงที่สุดครับจึงขออนุญาตเฟซนี้ช่วยตามให้หน่อยครับ ‘
ซึ่งภายหลังจากโพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไปทำให้มีขาวเน็ตเข้ามาวิพากษ์วิจารณ์เป็นจำนวนมากและเกิดเป็นกระแสเรียกร้องให้มีการตรวจสอบถึงการทำงานของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวอย่างเร่งด่วน
ขณะนี้นั้นญาติผู้เสียชีวิตได้จัดพิธีการสวดพระอภิธรรมศพอยู่ที่ วัดวังไทรติ่ง หมู่ที่ 12 ตำบลอ่าวน้อย อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งผู้ตายคือ นายสันติสุข พรรณไวย หรือ น้องลูกชิด อายุ 20 ปี
โดยทางครอบครัว ลุงของผู้ตาย นายอภิเชษฐ์ พรรณไวย์ อายุ 41 ปี อาชีพทนายความ เจ้าของเฟซบุ๊กเผยว่า นายสันติสุข พรรณไวย หรือ น้องลูกชิด ป่วยเป็น โรคธารัสซีเมีย ตั้งแต่ยังเด็ก ก่อนเสียชีวิตเมื่อช่วงหัวค่ำวันที่ 12 กันยายน 60 ที่ผ่านมา โดยมีอาการปวกศรีษะ จากนั้นกินยาพาราเซตามอลและเช็ตตัว แต่อาการก็ไม่ดีขึ้น ญาติจึงรีบโทรแจ้งสายด่วยกู้ชีพ 1669 ประจวบคีรีขันธ์
แต่ทางเจ้าหน้าที่บอกว่าให้กินยาพาราฯไปก่อน แล้วจะมารับในตอนเช้า จากนั้นญาติได้โทรบอกตนให้ทราบขณะที่ตนทำธุระอยู่ในตัวเมืองประจวบฯ จึงรีบเดินทางมาดูหลานและได้โทรไปที่ สายด่วนอีกครั้ง เนื่องจากหลานชายมีอาการช็อกเกร็ง ทำให้มีปากเสียงกับเจ้าหน้าที่ 1699 ตนจึงรีบนำหลานชายมาที่โรงพยาบาล และรถกู้ชีพได้มารับตัวระหว่างทาง เมื่อถึงโรงพยาบาลจึงนำตัวเข้าห้องฉุกเฉินนานกว่า 1 ชั่วโมง สุดท้ายแพทย์บอกว่าหลานติดเชื้อในกระแสเลือด และเสียชีวิตเวลา 15.00 น. ของวันต่อมา
ทางด้าน นายนิพนธ์ สุวรรณนาวา ประธานมูลนิธิสว่างประจวบธรรมสถาน อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า กรณีเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์สั่งการ 1669 สายด่วนฉุกเฉิน รพ.ประจวบคีรีขันธ์ แจ้งให้ผู้ป่วยกินยาพารากระทั่งเสียชีวิต ยอมรับว่าไม่เคยพบปัญหาในลักษณะนี้มาก่อน และหากมูลนิธิฯพบว่ามีปัญหาในลักษณะนี้ ก็จะให้เจ้าหน้าที่รายดังกล่าวหยุดปฏิบัติการในหน้าที่ทันที แต่ที่ผ่านมาเมื่อได้รับแจ้งจากศูนย์สั่งการ 1669 เจ้าหน้าที่จะนำรถกู้ชีพไปรับผู้ป่วยทุกครั้ง
ความคิดเห็นจากสมาชิกเฟซบุ๊ก
comments