ทั้งนี้จากมาตรการที่มีการใช้กฎหมาย  เรื่องผู้โดยสารจะต้องรัดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่งในรถทุกประเภท  ที่ได้จดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบก ตามคำสั่งกฎหมาย ม.44 กรณีที่รถกระบะมีแคปว่า สามารถบรรทุกผู้โดยสารนั้นได้หรือไม่ โดยทางเจ้าหน้าที่ตำรวจและกรมการขนส่งทางบก ได้อธิบายชี้แจงแล้วว่า ไม่ใช่แค่ห้ามทั่งท้ายกระบะ แต่ตรงช่วง “แคป” ก็ห้ามนั่งเช่นกัน

 

 

      ซึ่งด้าน ผู้ช่วยผบตร. (พล.ต.ท. วิทยา ประยงค์พันธ์)  ได้กล่าวว่า จากที่ คสช. ได้ออกใช้อำนาจตามมตรา 44 สั่งเพื่อความปลอดภัยของ ประชาชนที่ใช้รถ กำหนดให้ผู้โดยสาร คนขับรถจะต้องรัดเข็มขัดนิรภัยเพื่อความปลอดภัยทุกที่นั่ง ซึ่งในวันที่ 5 เมษายนนี้กำหนดเป็นวันแรก ที่จะเริ่มควบคุมบังคับการใช้กฎหมายตามประกาศของ คสช. โดยทาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มอบการปฎิบัติให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจทั่วประเทศ ให้บังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด ทั้งกับรถขนส่งสาธารณะ รถโดยสารและรถยนต์ทุกประเภทที่ฝ่าฝืนไม่รัดเข็มขัดนิรภัย และถ้าหากพบว่าที่นั่งภายในรถจัดให้มีเข็มขัดแต่ประชาชนไม่รัดก็จะต้องถูกปรับ 500 บาท ทันทีไม่มีข้อแม้

และในกรณีรถกระบะที่มีแคปนั้น ส่วนใหญ่ประชาชน อาจสับสนว่านั่งได้หรือไม่ได้ ก็ได้มีการชี้แจงว่า ทางบช.น. ได้ถือปฎิบัติตามคำสั่งของสตช. คือ “ห้ามรถกระบะมีแคปบรรทุกคนโดยเด็ดขาด” และหากพบจะดำเนินการปรับในทันที เพราะฝนการจดทะเบียนของรถกระบะนั้น จะจดทะเบียนเป็นรถบรรทุกส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง จะมีป้ายทะเบียนกำกับประเภทของรถ เป็นป้ายสีขาวที่มีตัวอักษรสีเขียว เพราะวัตถุประสงค์ของแคปคือ “มีไว้เพื่อตั้งวางสิ่งของเท่านั้น” แต่ที่ผ่านมากลับมีการใช้บรรทุกคนจนเคยชิน ซึ่งแคปนั้นไม่มีอุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัยของผู้ที่นั่งอยู่ใน แคป และก็ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อไว้สำหรับคนนั่งโดยเฉพาะอีกด้วย
ทั้งนี้ในการจับกระบะที่บรรทุกคนโดยสารในแคปนั้น เจ้าหน้าที่ไม่ได้จับปรับในขอหาไม่รัดเข็มขัดนิรภัย แต่จะปรับในข้อหา ใช้รถยนต์ผิดประเภท ถือว่าผิด พ.ร.บ. รถยนต์ 2522 มาตรา 21 ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถไม่ตรงตามประเภทที่จะทะเบียนไว้ ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท นอกจากนี้ในกรณีให้ผู้โดยสารนั่งข้างหลังกระบะก็ผิดด้วยเช่นกัน

ส่วนประชาชนที่มีรถกระบะและต้องการลรรทุกคนโดยสารนั้น จะต้องนำรถไปต่อเติมหลังคาและติดตั้งที่นั่ง 2 แถว และนำรถยนต์ไปจะทะเบียนกับกรมขนส่งทางบก เป็นรถโดยสารสาธารณะ 7 ที่นั่งขึ้นไป แต่ไม่เกิน 12 ที่นั่ง ถ้าทำตามเช่นนี้ จึงจะถือว่าไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด  ในส่วนของรถยนต์กระบะ 4 ประตู ก็สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ตามปกติ แต่ก็ต้องรัดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่งที่มีไว้ให้ เพราะรถกระบะ 4 ประตูนั้นจดเป็นทะเบียนรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง และที่ผ่านมาประชาชนได้ใช้รถผิดประเภทมาโดยตลอดส่งผลให้เกิดความเข้าใจผิด ว่าแคปหลังมีไว้สำหรับเป็นที่นั่ง พล.ต.ท. วิทยา ประยงค์พันธ์ ผู้ช่วยผบ.ตร. กล่าว

ภาพ ข่าว : กรมการขนส่งทางบก