จากกรณีหลังมีประกาศจากกระทรวงสาธารณะสุข ถึงเรื่องมาตรการป้องกันการใช้ทรัพย์สินทางราชการ และมีการสั่ง ห้ามชาร์จแบตมือถือ ในสถานที่ราชการ แม้จะเป็นไปตามร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม ก็ไม่พ้นเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากโลกโซเชียลว่าขัดแย้งกับหลักความเป็นจริง ไม่สมเหตุสมผล

ล่าสุดวันนี้ 6 มกราคม 2561 พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ดูแลงานส่วนบุคลากร ได้ออกมาชี้แจงถึงประกาศดังกล่าวว่า ประกาศนั้นเป็นของ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงสาธารณสุข ของ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นไปตามกฎหมายของการใช้ทรัพย์สินทางราชการ ตามมติ คณะรัฐมนตรี

ส่วนประเด็นที่ ห้ามไม่ให้ข้าราชการใช้ โทรศัพท์มือถือส่วนตัว และ ห้ามนำมาชาร์จแบตในสถานที่ราชการ นั้น เนื่องจากที่ผ่านมา มีข้าราชการหลายคน ใช้โทรศัพท์มือถือในเรื่องส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมาย

เช่นนำมือถือมา เล่นเกมส์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานและการปฏิบัติหน้าที่ได้ จึงได้เกิดข้อกำหนดนี้ขึ้นมา แต่ข้อกำหนดนั้น ไม่ได้ห้ามชาร์จแบตในทุกกรณี ยังสามารถชาร์จแบตได้หากการกระทำนั้นเกี่ยวข้องกับงานที่ต้องปฏิบัติ

จะละเว้นตามความเหมาะสม แต่ขณะนี้ยังไม่ได้กำหนดรายละเอียดถึงความเหมาะสม คาดว่าจะออกแถลงการณ์อย่างละเอียดอีกครั้งในสัปดาห์หน้า

ทั้งนี้ ประกาศฉบับดังกล่าว ที่กลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์นั้น มีด้วยกันอยู่ 2 แผ่น โดยมีใจความสำคัญคือ การป้องกันการใช้ทรัพย์สินทางราชการ เพื่อประโยชน์ส่วนบุคคล มีด้วยกัน 6 ข้อ

และหนึ่งในข้อกำหนดนั้น ข้อที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุด ก็คือ

การห้ามไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐ นำโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนตัว มาใช้ชาร์จไฟในสถานราชการ ซึ่งหลังจากถูกนำมาเผยแพร่ในโลกโซเชียลทำให้กลายเป็นที่วิจารณ์อย่างมาก โดยชาวเน็ตต่างมองว่าประกาศในข้อดังกล่าวนั้น อาจจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของข้าราชการ เช่น หมอ พยาบาล หรือ นักเทคนิคทางการแพทย์ เนื่องจากบางเวลาอาจจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์มือถือ ในการค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อศึกษา

และชาวเน็ตบางส่วนมองว่าข้อกำหนดดังกล่าวไม่ได้เป็นการแสดงการตอบโจทย์ ในเรื่องของการแสดงเจตจำนงสุจริตในการบริหารราชการและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่มองว่าข้อกำหนดดังกล่าวเป็นเรื่องไร้สาระ

ทางด้านผู้ปฏิบัติงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า การที่กระทรวงสาธารณสุขทราบแล้วว่าประกาศที่ออกมามีปัญหาในทางปฏิบัติ แต่ออกมาบอกว่าไม่ได้ห้ามเด็ดขาดขนาดนั้น เป็นเรื่องของวิจารณญาณ คิดว่ายังไม่ใช่แนวทางในการแก้ไขปัญหาที่แท้จริง

เพราะประกาศที่ออกมามีผลบังคับใช้แล้ว ในท้ายประกาศยังระบุว่ามีโทษทางวินัยซึ่งต้องได้รับโทษชัดเจน และที่บอกว่าอยู่ที่วิจารณญาณนั้นแต่ละคนก็มีไม่เท่ากัน อาจจะเปิดช่องให้เกิดการกลั่นแกล้ง

เพราะขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจ ดังนั้น สิ่งที่อยากให้ผู้บริหารพิจารณาคือ ออกมาเป็นแนวทางให้ชัดเจน หรือไม่ก็ควรแก้ประกาศ หรือยกเลิกประกาศเดิมแล้วออกประกาศขึ้นมาใหม่ ให้เป็นแนวทางการปฏิบัติที่มีความเหมาะสม ปฏิบัติได้จริง



ข้อมูล ภาพ ข่าว : เพจเฟซบุ๊ก หมออนามัยขี้mouth 

ความคิดเห็นจากสมาชิกเฟซบุ๊ก

comments